Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

สร้างอัลบั้มภาพด้วย power point

การทำลิงค์ใน powerpoint

การสร้างการเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง

การออกแบบสื่อมัลติมีเดีย

คอมพิวเตอร์น่ารู้

วิทยาศาสตร์ในห้องครัว

ผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


ผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ชีวิตในท่ามกลางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นชีวิตที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราอย่างมาก ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตเข้ากับความก้าวหน้าที่พุ่งเข้าหาตัวเรา ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหน เราก็จะได้รับผลกระทบเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบที่กล่าวถึงนั้นอาจแบ่งเป็น 5 ทาง คือ
·        ผลกระทบทางสังคม(ชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพ การศึกษา ฯ)·        ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม·        ผลกระทบทางการเมือง การปกครอง·        ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม·        ผลกระทบทางศิลปวัฒนธรรม
อยากทราบว่านักศึกษาที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตและท่านผู้อ่านแต่ละท่านได้รับผลกระทบเหล่านั้นอย่างไรบ้าง ช่วยนำเสนอด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หรือเป็นประสบการณ์ให้กับผู้ที่ยังไม่รู้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
        นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1700 เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีการค้นพบทฤษฎีการสันดาปโดยลาวัวซิเอ ความก้าวหน้าด้านเคมีสาขาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์และกลศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและมีการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการที่จะครองโลกวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบันนี้
        1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม
        การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ คริสตศตวรรษที่ 18 จากความก้าวหน้าทางวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ในช่วง คริสตศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ แนวความคิดปรัชญาวิทยาศาสตร์โบราณมาเชื่อถือปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ และได้นำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์มาจำลองศีกษาธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นพบ และการตั้งทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสาทความรู้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้ได้แก่
        - เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin ค.ศ. 1706-1790) ค้นพบว่าไฟฟ้าเป็นของไหล ซึ่งเป็นรากฐานทำให้ค้นพบอิเล็กตรอนในเวลาต่อมา เขาค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า และแนะนำวิธีการป้องกันฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาการเกิดสารพิษจากตะกั่ว มักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในโรงพิมพ์ 
        - เจมส์ วัตต์ (James Watt ค.ศ. 1736-1819) เป็นผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำของนิวโคเมน และประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ โดยแก้ไขจุดบกพร่องจากแบบของนิวโคเมน และได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่ทำงานระบบ "ดับเบิลแอกชัน" ทำให้ลูกล้อหมุนไปได้ซึ่งเป็นแนวทางในการประดิษฐ์รถยนต์และรถไฟในเวลาต่อมา และเป็นผู้กำหนดกำลังเครื่องจักเป็น "แรงม้า"
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เอื้ออำนวยให้มีการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้ชาติเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และหลักประกันสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการจัดหาแหล่งทรัพยากรและตลาดการค้า ตลอดไปจนถึงการสนับสนุนการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่ความคิดเห็นในทางอุตสาหกรรมทำให้มีการตื่นตัวขึ้นในสังคม และแผ่ขยายอิทธิพลความคิดไปสู่นานาประเทศ ดังนั้นกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเปลี่ยนจากการทำในครัวเรือนไปเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการทำงานโดยใช้ระบบแบ่งแรงงานให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วน มีการศึกษาวิจัยระบบงานให้สัมพันธ์กับเวลา และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในกระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมด้านต่าง ๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาสังคมติดตามมาด้วย ผลที่เห็นได้ชัดเจน คือ คนอพยพเข้ามารวมกันทำงานในเมืองอุตสาหกรรมเกิดความแออัด ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่ และทารุณจนเกิดการต่อสู่ระหว่างชนชั้นขึ้น ส่วนนายทุนเริ่มมีอำนาจก็แสวงหาอาณานิคมเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร หรือเป็นตลาด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประสบผลสำเร็จได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่า ๆ เกี่ยวกับแนวความคิดโบราณโดยสิ้นเชิง
        2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก
        ในประวัติศาสตร์เกือบจะไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่โลกปลอดจากสงคราม สงครามจัดได้ว่าเป็นกิจกรรมร่วมของมนุษยชาติอย่างหนึ่งซึ่งมักใช้เป็นทางออกเมื่อเกิดข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความสามารถในการประหัตประหาร ชาติพันธุ์เดียวกันของมนุษย์เหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง อาจเป็นเพราะว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะมนุษย์ได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างทั้งสติปัญญาและทรัพยากรเพื่อพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนกลวิธีทำลายข้าศึก ตัวอย่างเช่น เห็นได้จากวิวัฒนาการของเครื่องบินรบ ทั้งในแง่ของความเร็วและสมรรถนะ ในมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศมหาอำนาจได้ผนึกกำลังนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเข้ามาทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อพัฒนาและประยุกต์วิธีการประหัตประหารแบบใหม่ ๆ ในมหาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นั้น จัดได้ว่าเป็นสงครามเคมี เพราะมีการทำลายล้างด้วยระเบิดชนิดต่าง ๆ และแก๊ส ส่วนมหาสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยุติลงด้วยระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างชีวิตมนุษย์นับแสนคนลงในชั่วพริบตา ผลจากสงครามทำให้เกิดการกระตุ้นเตือนนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์คิดค้นให้เพิ่มความรับผิดชอบและระมัดระวังในผลงานของตนยิ่งขึ้น บุคคลหลายกลุ่มได้ผนึกตัวขึ้นต่อต้านการทำสงครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการเรียกร้องให้ลดกำลังอาวุธ ถึงกระนั้นก็ตามประเทศมหาอำนาจก็ยังเร่งระดมสร้างอาวุธร้ายแรงขึ้นทุกที เช่น ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดนิวตรอน สารพิษ และเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งสงครามครั้งต่อ ๆ ไป อาจหมายถึงอวสานของมนุษย์ก็เป็นได้ นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein ค.ศ. 1879-1955) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพอันนำไปสู่การสร้างระเบิดปรมณู และคิดค้นทฤษฎีใหม่ ซึ่งนำไปสู่การสำรวจอวกาศ
      3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
        ช่วงนี้เป็นช่วงต่อจากสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมและอาจกล่าวได้ว่า มีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยสุขสบายความเป็นอยู่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโลกภัยไข้เจ็บ นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่
        - ลาวัวซิเอ (Antoine Laurent Lavoisier ค.ศ. 1743-1794) เป็นผู้สนใจทางด้านเคมี ได้ตั้งทฤษฎีการสันดาป เขาได้ตั้งชื่อก๊าซที่ทำให้ลุกไหม้ว่า "ก๊าซออกซิเจน" และตั้งกฎทรงแห่งมวลสาร ซึ่งมีใจความว่า "มวลของสารก่อนทำปฏิกริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังการทำ ปฏิกริยา"
        - วอลตา (Alessandro A. Volta ค.ศ. 1744-1827) ได้ทดลองใช้แผ่นสังกะสีและทองแดงตัดให้กลมคล้ายเหรียญบาทประกบสลับกัน แล้วนำปลายข้างหนึ่งจุ่มลงในอ่างน้ำที่มีเกลือและชิ้นส่วนของหนังสัตว์ปนอยู่ด้วย ปรากฎว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า "โวลทาอิกไฟล์" และเมื่อเชื่อมโวลทาอิกไฟล์หลายอันเข้าด้วยกันพบว่าเกิดประแสมากขึ้นซึ่งเป็นหลักของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน
        - ลามาร์ก (Jean Baptise - Chevalier de Lamark ค.ศ.1744-1829) เขาได้สนใจเรื่องความแตกต่างและความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต จึงได้จัดแบ่งสัตว์เป็นหมวดหมู่และได้ตั้งกฎการใช้และไม่ใช้ ที่อธิบายว่าลักษณะด้อยจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน และลักษณะที่ไม่จำเป็นจะค่อย ๆ เสื่อมสลายไป
        - เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์ (Edmund Halley ค.ศ. 1656 - 1742 เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาค้นคว้าหาตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ เขาได้บันทึกการเคลื่อนที่ของดาวหางดาวหนึ่งและได้พยากรณ์ว่าดาวหางดวงนั้นจะปรากฎให้เห็นในทุก 76 ปี และก็เป็นดังที่เขาทำนาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาดาวหางดวงนั้นจึงชื่อว่า "ดาวหางฮัลลีย์" 
        - เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ ( Edward Jenner ค.ศ. 1749 - 1823) เป็นผู้ค้นพบวิธีลูกผีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ
        - เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy ค.ศ. 1778 -1829) ได้ค้นพบก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นยาสลบได้
        - แอมแปร์ (Andre- Marie Ampere ค.ศ. 1774 - 1836) เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าว่า "แอมแปร์"เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
        - ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday ค.ศ. 1791- 1867) เป็นผู้ค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พบหลักการของหม้อแปลง พบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าซึ่งยังใช้กันในปัจจุบัน
        - โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edisson ค.ศ. 1847 - 1931) เป็นนักประดิษฐ์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกได้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หลอดไฟฟ้าเครื่องฉายภาพยนต์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่จดลิขสิทธิ์ 1,328 ชิ้น และที่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์อีกมากมาย
        - ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Dawin ค.ศ. 1809 - 1882) เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
        - เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregoe Johann Mendel ค.ศ. 1822-1884) เขาได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช และได้สรุปเป็นกฎเรียกว่า "กฎทางพันธุ์กรรมของเมนเดล" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพันธุ์กรรม
        - ลูเธอร์ เบอร์แบงค์ (Luther Burbank ค.ศ. 1849-1926) เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ผล และทดลองผสมข้ามพันธุ์และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไว้ จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมากมายเขาได้สมญานามว่า "ผู้วิเศษแห่งต้นไม้"
        - หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur ค.ศ. 1822 - 1895) เป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ และวางรากฐานทฤษฎีแบคทีเรีย ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) ในการกำจัดแบคทีเรียในอาหาร โดยการทำให้อาหารอุ่น แล้วทำให้เย็นลงโดยเร็ว และยังค้นพบวิธีการทำเซรุ่มแก้พิษสนัขบ้า และผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
        - ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister ค.ศ. 1827 - 1912) เป็นศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เขาคิดว่าการเกิดหนองหลังจากการผ่าตัด อาจจะเกิดจากเชื้อโรคในอากาศ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีกำจัดเสียก่อน เขาทดลองใช้กรดคาร์บอลิกเจือจาง ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และทำความสะอาดเครื่องมือ ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดขณะที่มีการผ่าตัด และได้ทดลองผ่าตัดคนไข้คนหนึ่ง ปรากฎว่าไม่มีหนอง และการอักเสบเกิดขึ้นอีกเลย
        4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน
        การศึกษาและการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของนักปราชญ์กลุ่มย่อยๆ ในสังคม ได้เปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนให้ความเชื่อถือ และใฝ่ฝันที่จะได้เข้าไปมีบทบาทร่วมดำเนินการ ฐานะ และภาพพจน์ของสังคมที่มีต่ออาชีพการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็นของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือ นักเทคโนโลยี ไม่เป็นรองอาชีพใด ๆ ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ได้กำหนดนโยบายสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก         จึงเกิดสถาบันค้นคว้าวิจัยที่มีผู้ทำงานเป็นกลุ่มซึ่งแต่ละคนจะฝึกฝนมาเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านเฉพาะแขนง งบประมาณสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ได้จากงบประมาณแผ่นดิน แหล่งเงินทุน มูลนิธิ และบริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งให้ในรูปเงินทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัย หรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการของตนเองแล้วจ้างนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรเข้าไปทำงานวิจัย การคิดค้นทฤษฎีและวิธีการประยุกต์จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่องและรวดเร็ว ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พิมพ์เผยแพร่กันในปัจจุบันและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มีมากมายจนไม่สามารถที่จะรวบรวมไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใดได้หมดสิ้น เนื้อหาความรู้ในแต่ละแขนงวิชาก็มีความลึกซึ้ง และเริ่มขยายขอบเขตไปคาบเกี่ยวกับคน ในบางครั้งไม่อาจจะแยกลงไปอย่างชัดเจนว่าจัดอยู่ในสาขาใดแน่ ตัวอย่างเช่น วิชาชีวเคมี วิชาชีวฟิสิกส์ และวิศวกรรมการแพทย์ เป็นต้น (เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช. 2540 :4-10)

ความเจริญทางด้านวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


        ความเจริญทางด้านวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน 
           ศตวรรษที่ 20 วิทยาศาสตร์เริ่มมีบทบาทอย่างแท้จริงในการพัฒนาประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี
 เช่น ทฤษฎีโซลิดสเตทฟิสิกส์ หรือวิชาฟิสิกส์ที่ว่าคุณสมบัติของของแข็งในทางไฟฟ้าและปรมาณู เป็นรากฐาน
ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เช่น ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และวงจรรวมหรือไอซี การประดิษฐ์
คิดค้นเลเซอร์ เป็นต้น 
           ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมว่าเป็นสิ่งจำเป็น
 ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น เรียกกันว่า อุตสาหกรรมที่อิงวิทยาศาสตร์ 

ความก้าวหน้าทางระบบคมนาคมขนส่ง 
          เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การคมนาคมมีแนวโน้มพัฒนาดังนี้
- มีการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากกาศ 
- มีความสามารถที่จะบรรทุกขนส่งสินค้าและผผู้โดยสารมากขึ้น 
- มีประสิทธิภาพสูงในการขนส่งและโดยสาร
- มีการพัฒนาระบบการขนส่งเพื่อใช้ในการสำรรวจทางอวกาศ ก่อให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้วิทยาการใหม่ ๆ
เช่น การพัฒนาจรวด การพัฒนาระบบสื่อสาร 

ความก้าวหน้าทางระบบการสื่อสาร และโทรคมนาคม
         การสื่อสารได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบหลากหลาย เช่น การใช้โทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์
 โทรพิมพ์ โทรสาร และได้พัฒนาคุณภาพของการส่งข้อมูลที่ใช้ระบบข่ายงานดิจิทัลแบบบริการเบ็ดเสร็จ
อนาคตโลกจะถูกย่อให้แคบลงด้วยระบบการสื่อสาร

ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ 
         ความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้ค้นพบตัวยา เช่น การผลิตอินซูลินสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
 การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิดบี การรักษาโรค การวินิจฉัยโรคโดยใช้เครื่อง CT เพื่อใช้
ตรวจสอบอวัยวะภายในของมนุษย์ การใช้อวัยวะเทียม เช่น ไตเทียม หัวใจเทียม เพื่อช่วยรักษาบำบัด
ให้มนุษย์มีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้น 

ความก้าวหน้าทางด้านอาคาร บ้าน ที่อยู่อาศัย          ปัจจุบันได้นำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น
มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น รวมทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค 

ความก้าวหน้าทางด้านการรักษาเอกราช และสันติสุข 

        มีการค้นพบดินปืน และการสร้างระเบิดปรมาณู ระเบิดนิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ เรือดำน้ำ จรวด
 ดาวเทียม 

ความก้าวหน้าทางการเกษตร 
       ปัจ
 การใช้เทคนิคในการรวมตัวของเซลล์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ การปลูจุบันการเกษตรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมาก เช่น การผสมเทียมในการขยายพันธุ์สัตว์กพืชโดยใช้น้ำแทนดิน เป็นต้น

ผลกระทบของเทคโนโลยี


                                      ผลกระทบของเทคโนโลยี

 ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติวัฒนธรรมไทย จากวัฒนธรรมดั้งเดิมให้เข้ากับวัฒนธรรมยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยอารยธรรมตะวันตก และจากการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนจำนวนมากของประเทศโดยเฉพาะคนในสังคมชนบทตามไม่ทันความเจริญทางเทคโนโลยี ยังผลให้สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน จนบางครั้งไม่สามารถสรุปได้ว่าวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมปัจจุบันนี้เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าเป็นวัฒนธรรมสากลที่ชาวโลกทั่วไปถือปฏิบัติกันเสียมากกว่า
      กระนั้นก็ตาม คงปฏิเสธมิได้ว่าในปัจจุบันความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งในทางบวกและทางลบมากมายเพียงใด แต่สิ่งที่น่าพิจารณาคือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยมิได้เกิดจากการค้นคว้าวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ อีกทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัยของประเทศเท่านั้น เนื่องจากประเทศไทยใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีเข้ามาแทนการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในขั้นพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เนื่องจากยังมิได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นแกนสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมุ่งมั่น และมีทิศทางที่แน่นอน ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะพึ่งพาตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ จำเป็นที่จะต้องสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ รู้จักคิด และรู้จักใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
ดังที่กล่าวอ้างมาแล้วนั้น เราคาดหวังว่าท่านผู้อ่านคงพอจะเห็นความสำคัญ และผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสังคมไทย เพราะเท่าที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในทุกวันนี้ส่วนหนึ่งนั้น มาจากความเจริญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น ในยุคสารสนเทศที่นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ให้แก่การสื่อสารหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งเป็นยุคแห่งข่าวสารที่พัฒนาเคียงคู่ไปกับยุคแห่งเทคโนโลยี จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ฉันคิดว่าน่าที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยมาใช้สร้างแนวจริยธรรมเพื่อการพัฒนาสังคมเดิมให้ดีขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่ากระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นมีความใกล้เคียงกับการเรียนรู้ทางด้านศาสนา
        ทั้งนี้เพราะวิทยาศาสตร์และศาสนานั้นเป็นกระบวนการทางความคิดที่เป็นระบบซึ่งดำเนินไปอย่าง เป็นขั้นตอนเพื่อแสวงหาคำตอบให้กับสิ่งที่ไม่รู้ กล่าวคือ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสนาต่างเริ่มต้นที่ปัญหาจากตัวมนุษย์ผู้มีความสงสัยในสิ่งที่ตนเองไม่ทราบ ดังนั้น คนจึงตั้งสมมติฐานถึงสาเหตุหรือที่มาแห่งปัญหานั้น หลังจากนั้นจึงลงมือเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาลำดับความรู้หรือวิเคราะห์เพื่อค้นหาความจริง และในที่สุดคนก็จะได้รับคำตอบในสิ่งที่ตนเองเคยงุนงงสงสัย และเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อคนได้รับคำตอบไม่ว่าจะเป็นทั้งคำตอบที่ชัดเจนทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และศาสนาแล้ว คนย่อมต้องนำความรู้ที่ได้นั้นมาใช้ประโยชน์ และความรู้เหล่านั้นจะนำมาซึ่งการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น เพราะกระบวนการแสวงหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์และศาสนานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนรู้จักใช้เหตุผล มีความเชื่อมั่นในตนเองและคิดทุกอย่าง ๆ เป็นขั้นตอนและเป็นระบบมากขึ้น
ความรู้ทั้งปวงที่ได้จากบทสรุปทางจากการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ และการแสวงหาสัจจธรรมจากศาสนา ทำให้มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลแล้วเริ่มมองตนเอง และมองสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งจะทำให้มนุษย์เล็งเห็นข้อดีและข้อบกพร่องทางจริยธรรมทั้งของตนเองและของสังคม
ในที่สุดแล้วเมื่อมนุษย์มีประสบการณ์ในการคิดด้วยเหตุผลอันจะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมรวมถึงการสรรสร้างจริยธรรมให้แก่สังคมของตนเองอีกด้วย
ในทรรศนะของฉัน ปัจจุบันที่วิทยาศาสต์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยมากขึ้น ทำให้คนเมินเฉยต่อเรื่องจริยธรรม เพียงเพราะเข้าใจไปว่าเป็นเรื่องที่ตนเอง “รู้” อยู่แล้ว จึงทำให้ความพยายามที่จะ “รู้” จางหายไป ประกอบกับระบบสังคมที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้คนมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคลที่ปรารถนาอิสระเสรี แต่ใช้สติปัญญาน้อย อันนำไปสู่การแสวงหาหนทางที่ง่าย ๆ เช่น การนิยมวัตถุ หรือวัตถุนิยม
      อันความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุนั้นพบได้ในเกือบทุกสังคมมนุษย์ แต่อยู่ที่คนจะยินดีรับเอาเฉพาะสิ่งที่เหมาะสมดีงามตามความต้องการของส่วนรวม และปรับปรุงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนอย่างเหมาะสม ไม่ตกอยู่ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยม อีกทั้งยังสามารถรักษาวัฒนธรรมประจำชาติของตนไว้ได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากยอมรับเอาแต่ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างไม่หยุดยั้ง หรือไม่ตระหนักในในการถาโถมของเทคโนโลยี ย่อมทำให้เกิดความต้องการในสิ่งแปลกใหม่อันนำมาซึ่งความสะดวกสบายแห่งตนมากขึ้นเรื่อยไป ซึ่งอาจจะทำให้จิตใจหมกมุ่งขุ่นมัว เพียงเพราะต้องการให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัย และในที่สุดเราอาจสูญเสียวัฒนธรรมประจำชาติของตนไปทีละน้อย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมลู่ไหลและยอมรับความเปลี่ยนแปลงอยู่

ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ดูเหมือนว่าคำว่าเดิมที วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นคำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกัน และส่วนมากก็ใช้แยกกัน ในบางครั้งที่ใช้ร่วมกัน  ปัจจุบันมักได้ยินคำทั้งสองใช้ด้วยกันมากขึ้นทั้งนี้เพราะคำทั้งสองคำนี้มีความเกี่ยวข้องกัน อาจทำให้หลายคนคิดว่ารวมเป็นคำเดียวและใช้ควบคู่กันเสมอ ดังจะเห็นว่าคณะในมหาวิทยาลัยมักจะมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิชาในสาขาวิทยาศาสตร์อย่างเดียวจะเป็นความรู้มูลฐาน โดยนักวิทยาศาสตร์จะศึกษาค้นคว้าความรู้ดังกล่าวเพื่อสนองตอบต่อความใคร่รู้ความอยากรู้อยากเห็น โดยไม่ได้คิดหวังผลประโยชน์จากการนำความรู้ไปใช้ ที่มีการเผยแพร่และสารณะชนสามารถนำไปใช้ได้ฟรีจัดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) นั้นนำความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานะการณ์หรือปรากฏการใดปรากฏการหนึ่ง ที่อยู่ในความสนใจและเป็นประโยชน์สนองความต้องการของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ กลายเป็นศาสตร์ต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร วิศวกรรม เภสัชกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตามวิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็ยังเป็นเพียงความรู้ที่ได้ยากการศึกษาค้นคว้าเพื่อแสวงหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ เช่นนักเคมีสกัดสารบางอย่างจากต้นไม้หรือสมุนไพรในการศึกษาโครงสร้างต่างๆ ของต้นไม้เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ แต่เมื่อนักเคมีหรือเภสัชกรศึกษาการนำสารสกัดดังกล่าวดูว่าจะใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง หรือนำไปสังเคราะห์เป็นส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาดใดบ้าง เป็นขั้นตอนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีการทดลองทำให้แน่ใจว่าใช้รักษาโรคได้ ใช้เป็นสารทำความสะอาดได้จริง  แต่เมื่อไรที่ไปถึงขั้นของการผลิต เพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์ทางธุรกิจการค้า ที่ต้องอาศัยขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี (Technology)
คำว่า Technology มาจากคำภาษาอังกฤษ และคำนี้มาจากภาษากรีกคือ Technologia ซึ่งเดิมหมายถึงการกระทำที่เป็นระบบที่ก่อให้เกิดกรรมวิธีในการผลิต และสิ่งประดิษฐ์ใหม่  ดังนั้นความหมายของเทคโนโลยีจึงเปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล ประดิษฐกรรมใหม่ๆ และการอุตสาหกรรมดังที่เรียกกันว่าเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ความพยายามที่จะให้นิยามขอบเขตของคำว่าเทคโนโลยีที่น่าตรงตามสภาพปัจจุบัน คือความรู้ทางเทคนิคที่ใช้สำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม  และยังให้ความหมายครอบคลุมไปถึงความรู้ที่ไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เช่นการสร้างเขื่อน การส่งยานอวกาศ และการดำเนินชีวิตในประจำวัน ดังนั้นจึงมีความหมายกว้างๆ ของคำว่าเทคโนโลยีคือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เองในการสนองความต้องการ และการควบคุมสิ่งแวดล้อม  ตามความหมายประการหลังน่าจะครอบคลุมเพราะไม่ว่าจะผลิตอะไรก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ที่รวมไปถึง การใช้แรงงานและพลังงาน ในการสร้างเขื่อนก็ควบคุมน้ำการไหลของน้ำโดยการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น
การแบ่งแยกและการใช้ร่วมกันของคำว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อมองในแง่ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เพราะจะเกิดเทคโนโลยีขึ้นได้อยาถ้าไม่มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาก่อน และในบางครั้งเมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์แล้ว จะครอบคลุมรวมไปถึงเทคโนโลยีด้วย ดังที่เคยมีนิยามกันว่าเทคโนโลยีก็คือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ และเป็นผลของวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เป็นความลับที่ไม่อาจเปิดเผยให้คู่แข่งขันทางเศรษฐกิจการค้าทราบ เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในท้องตลาดใครเป็นเจ้าของเทคโนโลยีก็จะเป็นผู้มีอำนาจมีอิทธิพลต่อโลกได้ 
เมื่อมองกันในแง่ว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี ก็ถือว่าเป็นความรู้ดังที่กล่าวกันเสมอว่าความรู้คือพลัง (knowledge is power) ซึ่งความรู้อาจแบ่งออกเป็นความรู้เชิงประกาศ (declarative knowledge) และความรู้เชิงกระบวนการ (procedural knowledge) และความรู้ประการหลังน่าจะเป็นความรู้ทางเทคโนโลยี สอดคล้องกับกล่าวกันว่าการนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติที่จะให้ได้ผลดีก็ต้องมีทั้งความรู้และความสามารถที่จะนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัตินั่นเอง

. ชีวิตกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ชีวิตกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การค้นค้วาเกี่ยวกับเทคโนโลยี
วายร้ายไซเบอร์ ไซแมนเทค" ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส มีเนื้อหาที่น่าสนใจ เพราะบอกว่า ยุคนี้อาชญากรรมออนไลน์มีแนวโน้มมุ่งโจมตีผู้ใช้ตามบ้านเพิ่มขึ้น และไม่ได้หวังแค่ให้ระบบเสียหายเท่านั้น แต่ยังหวังผลเรื่องของเงินๆ ทองๆ เป็นหลัก ใครจะรู้ว่าแอพพลิเคชั่นที่คุณใช้งานอยู่ทุกคืน จะเต็มไปด้วยช่องโหว...
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · อ่าน: 301 · สร้าง: เกือบ 3 ปี ที่แล้ว

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ ...........วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า 1. ความหมายของวิทยาศาสตร์ ...........พจนานุกรมฉบับราชบัณ...
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · อ่าน: 368 · สร้าง: เกือบ 3 ปี ที่แล้ว

ผลกระทบจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผลกระทบจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนดลยี การเกษตร หมายถึง การจัดการภายในของขอบเขตที่ดิน เพื่อการผลิตพืชและสัตว์ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ในการยังชีพ การแลกเปลี่ยนโดยมีปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ดิน น้ำ อากาศ แสง พืชพันธุ์และสัตว์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบการเกษตรมีลักษณะที่สอดคล้องก...
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · อ่าน: 603 · สร้าง: เกือบ 3 ปี ที่แล้ว

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. : 80) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโ...
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · อ่าน: 8096 · สร้าง: เกือบ 3 ปี ที่แล้ว

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์13 ทักษะ. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร การกำหนดตัวแปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปร เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ตัวแปรต้น คือ ส...
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 1 · อ่าน: 450 · สร้าง: เกือบ 3 ปี ที่แล้ว

วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
ความหมายของวิทยาศาสตร์ ...........พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายว่า “วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกต ค้นคว้าจากการประจักษ์ตามธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบหรือเป็นวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผล แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ” ...........วิทยาศาสตร์ แบ...

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                              
          จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์คิดค้นและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก นอกจากนี้เมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมากขึ้นในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์  การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศอย่างไม่หยุดยั้ง   การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคล สังคม และประเทศชาติพัฒนายิ่งขึ้น อาทิเช่น
           1. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลโดยรวม ให้ก้าวหน้า และก้าวทันโลก แม้จะอยู่ในโลกไร้พรมแดน ก็มีคุณภาพที่ดีขึ้น
           2. การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และองค์ความรู้ ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้ และแก้ปัญหาประเทศได้ 
           3. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ผลิต โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาช่วยในการสร้าง การพัฒนาสินค้า และบริการแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้ดีขึ้น
           4. การศึกษาตลอดชีวิตมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้การศึกษามีความสำคัญมากยิ่ขึ้น โดยเปลี่ยนจากการศึกษาที่เกิดขึ้นเฉพาะวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ที่มีความจำเป็น ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น อินเตอร์เน็ต ดาวเทียม เป็นต้น
           5. ด้านอุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าไปเชื่อมโยงกับ การบริการมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของสังคม เช่น ธนาคาร สื่อสารมวลชน การรักษาพยาบาล การท่องเที่ย ด้านการศึกษา ช่วยให้สื่อการเรียนการสอน มีรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น
           6. ด้านการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้น เช่น การลดมลภาวะ ด้วยการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด การใช้พลังงานทดแทนเป็นต้น
           7. ด้านการสาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญที่ช่วยสนองความต้องการของบุคคล และชุมชน ทั้งด้านการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย และวิทยาการ ด้วยเครื่องมือ วิธีการที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง
           8. ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยให้ลดการพึ่งสารเคมี และหันมาพึ่ง สารชีวภาพ และวิธีการทางธรรมชาติมากขึ้น ด้านการเก็บเกี่ยว ต้องใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อช่วยลดความเสียหายระหว่างการเก็บเกี่ยว และช่วยยืดระยะเวลาการเก็บรักษาให้นานขึ้น
ในขณะเดียวกันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง ดังนี้
1. การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม

2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิต ด้านจิตใจลดต่ำลง เพราะมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน เช่น การใช้อาวุธที่ทันสมัย ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง การโจรกรรมข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ความหมกมุ่นกับเทคโนโลยีเกินพอดี ทำให้คนเราเหินห่างจากธรรมชาติ เช่น เด็กติดเล่นเกม จนไม่สนใจพ่อแม่ การทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี หรือเครื่องผ่อนแรง จนไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันน้อยลง4. การใช้ชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป โดยมุ่งหวังแต่สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชิน ส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี
           ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือ การมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจทั้งนี้ถึงแม้ว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าของวัฒนธรรมในสังคมของตนเองแล้ว ย่อมส่งผลให้คนในสังคมขาดสมดุล ดังนั้นการเรียนรู้ทางวิทยาาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสังคม แบบบูรณาการร่วมกันแล้ว ย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

การออกเสียงคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต

               การออกเสียงคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
        1. ภาษาบาลี สันสกฤตจะออกเสียงสระตามรูปที่กำ กับ ถ้าไม่มีสระให้เห็นจะออกเสียงสระอะ แต่พอไทยนำ มาใช้
จะออกเสียงตัวพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นตัวสะกด เช่น
วิวิธ เดิมออกว่า วิ - วิ - ทะ ไทยนำ มาใช้ออกเสียง วิ - วิด
วินย เดิมออกว่า วิ - นะ - ยะ ไทยนำ มาใช้ออกเสียง วิ - ไน
อุทก เดิมออกว่า อุ - ทะ - กะ ไทยนำ มาใช้ออกเสียง อุ - ทก
* คำ บาลีสันสกฤตที่พยัญชนะต้น มี ร. เรือ ตามมาไทยจะออกเสียงเหมือนมีสระออผสมอยู่ด้วย เช่น
กรกฎ ไทยออกเสียง กอ - ระ - กด
อรชุน ไทยออกเสียง ออ - ระ - ชุน
มรกต ไทยออกเสียง มอ - ระ - กด
มรณา ไทยออกเสียง มอ - ระ - นา
ปรปักษ์ ไทยออกเสียง ปอ - ระ - ปัก


แต่ถ้าเป็น บ. แล้วไม่มี ร. ตามมา ไทยก็ยังคงออกเสียงเป็น ออ เช่น
บวร ไทยออกเสียง บอ - วอน
บพิธ ไทยออกเสียง บอ - พิด
บดี ไทยออกเสียง บอ - ดี
       2. จะออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกดหรือไม่
* ตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคหรือ ส ศ ษ ด้วย
มักจะไม่ออกเสียง อะ เช่น
มุกดา ออกเสียง มุก - ดา ไม่ออกเสียง มุก - กะ - ดา
สัปดาห์ ออกเสียง สับ - ดา ไม่ออกเสียง สับ - ปะ - ดา (ปัจจุบันอนุโลม)
ทักษะ ออกเสียง ทัก - สะ ไม่ออกเสียง ทัก - กะ - สะ
อัปสร ออกเสียง อับ - สอน ไม่ออกเสียง อับ - ปะ - สอน
* มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรคตัวตามเป็น ย ร ล ว มักออกเสียง อะ ไม่เต็มเสียง
นิตยา ออกเสียง นิด - ตะ - ยา
วัชระ ออกเสียง วัด - ชะ - ระ
จัตวา ออกเสียง จัด - ตะ - วา
* ถ้าตัวสะกดเป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ตัวตามเป็นอะไรก็ได้ให้ออกเสียง อะ ไม่เต็มเสียง
ไอยรา ออกเสียง ไอ - ยะ - รา
บุษบา ออกเสียง บุด - สะ - บา
พิสดาร ออกเสียง พิด - สะ - ดาน
แพศยา ออกเสียง แพด - สะ - หยา
ศุลกากร ออกเสียง สุน - ละ - กา - กอน
ยกเว้น
ขนิษฐา ออกเสียง ขะ - นิด - ถา
สันนิษฐาน ออกเสียง สัน - นิด - ถาน
อธิษฐาน ออกเสียง อะ - ทิด - ถาน
เศรษฐี ออกเสียง เสด - ถี
อาสาฬหบูชา ออกเสียง อา - สาน - หะ - บู - ชา
แต่คนส่วนใหญ่นิยมอ่านว่า อา - สาน - ละ - หะ - บู - ชา
     3. ออกเสียง อิ อุ ที่อยู่ท้ายพยางค์หรือไม่
คำ ที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตพยางค์หลังจะมี อิ อุ กำ กับ โดยใช้พยัญชนะตัวหลังเป็นตัวสะกดแล้ว จะไม่
ออกเสียงสระ เช่น
เกตุ ออกเสียง เกด ชาติ ออกเสียง ชาด
ญาติ ออกเสียง ยาด มาตุ ออกเสียง มาด
เมรุ ออกเสียง เมน เหตุ ออกเสียง เหด
แต่ วุฒิ อ่านว่า วุด - ทิ เพราะศัพท์เดิมเป็น วุฑฒิ แต่ถ้าอ่านว่า วุด ถือว่าอ่านตามความนิยม

การออเกสียงคำ


การออกเสียงคำ

   ภาษาเขียนของไทยใช้ตัวอักษรแทนเสียง 3 ประเภท คือ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
ทุกภาษาจะต้องมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระ มีบางภาษาเท่านั้น เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน เป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์
พยัญชนะ
   มีรูปพยัญชนะ 44 รูป แบ่งเป็นเสียงได้ 21 เสียง เพราะหลายรูปมีเสียงซํ้ากัน หลายรูปเราไปรับเอามาจากภาษา
บาลี สันสกฤต และอักษรตํ่ามีเสียงเหมือนอักษรสูง
ศ ษ จึงออกเสียงเหมือน ส ของไทยแต่เดิม
ฬ จึงออกเสียงเหมือน ล ของไทยแต่เดิม
ฑ ฒ ธ จึงออกเสียงเหมือน ท ของไทยแต่เดิม
ข้อสังเกตของพยัญชนะไทยอีกประการ คือ รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง
องค์ (ค. ควาย ไม่ออกเสียง เพราะมีทัณฑฆาตกำ กับ)
พรหม (ห. หีบ ไม่ออกเสียง เพราะนำ หน้าตัวสะกดบางคำ )
สามารถ (ร. เรือ ไม่ออกเสียง เพราะนำ หน้าตัวสะกดบางคำ )
พุทธ (ธ. ธง ไม่ออกเสียง เพราะตามหลังตัวสะกดบางคำ )
จริง (ร. เรือ ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรควบไม่แท้)
อยาก (อ. อ่าง ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรนำ )
หมาย (ห. หีบ ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรนำ )
      สระเสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง
- สระเดี่ยว 18 เสียง (สั้น 9 ยาว 9)
- สระประสม 3 เสียง (เอีย อัว เอือ)อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ปัจจุบันถือว่าเป็นพยางค์ ไม่ใช่สระเกินแล้ว
ข้อสังเกตการใช้สระในภาษาไทย มีดังต่อไปนี้
** คำ บางคำ รูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่น ญาติ ประวัติ เหตุ ธาตุ แต่การสะกดคำ ต่อไปนี้จะต้องเขียนแบบนี้ สังเกต
อนุญาต พยาธิ จึงจะถูก
     วรรณยุกต์
มี 4 รูป 5 เสียง สามัญไม่มีรูป
     เสียงหนักเสียงเบา
ในภาษาไทยพยางค์ที่มักเน้นเสียงหนักคือ พยางค์สุดท้ายของคำ หรือถ้าเป็นตำ แหน่งพยางค์อื่นๆ ที่ไม่ใช่สุดท้าย
ของคำ ให้ดูว่าเป็นคำ ครุ (สระเสียงยาว หรือมีเสียงตัวสะกด) เราก็จะลงเสียงหนัก เช่น
มานะ ลงเสียงหนักที่ นะ ทองแดง ลงเสียงหนักที่ แดง
ราคา ลงเสียงหนักที่ คา ปัจจุบัน ลงเสียงหนักที่ ปัจ บัน
กิจการ ลงเสียงหนักที่ กิจ การ จริยา ลงเสียงหนักที่ ยา
สมาคม ลงเสียงหนักที่ มา คม ทรัพยากร ลงเสียงหนักที่ ทรัพ ยา กร
ยุทธหัตถี ลงเสียงหนักที่ ยุท หัต ถี
* ในประโยคถ้าเป็นคำ กริยาสำ คัญในประโยคจะต้องลงเสียงหนัก เช่น "เขาไม่บอกคนขับ รถเลย เลยไปเลย" เลยคำ ที่ 2
     ลงเสียงหนัก
* การลงเสียงหนักเบาไม่มีความหมายสำ คัญในระดับคำ แต่เมื่อเข้าประโยคจะมีความหมายมากกว่า ผู้พูดอาจเลือกเน้น
คำ ใดคำ หนึ่ง เพื่อเน้นอารมณ์ ความรู้สึก เช่น
ฉันชอบแดงไม่ชอบก้อย (เน้นว่าชอบแดง)
เก่งจริงนะลูกสาวเธอ (ประชด)
     คำ
คำซ้ำ และคำซ้อน
ลักษณนาม เช่น เล่ม อัน วง
คำบอกทา่ทีของผูพู้ด เชน่ ซิ นะ เถอะ
คำบอกสถานภาพของผูพู้ด ผูฟ้ งั เชน่ คะ ครับ
มีเฉพาะในภาษาไทย
ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนรูปคำ เพื่อบอกเพศชายหญิง พหูพจน์ เอกพจน์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เหมือนภาษา
อังกฤษ แต่เราต้องสังเกตจากบริบท (ถ้อยคำ แวดล้อม คำ ข้างเคียง) เช่น
1. ฉันกินแล้ว 2 ห่อ (แล้ว ทำ ให้เรารู้ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต)
2. เพื่อนเล่นกันเสียงดัง (กัน ทำ ให้เรารู้ว่า เพื่อนหลายคน)
3. พี่เธอคลอดลูกหรือยัง (คลอด ทำ ให้เรารู้ว่า พี่เป็นผู้หญิง)
4. ขัดหม้อให้คุณยายหรือยัง
ขัดรองเท้าให้เกลี้ยงนะ
ขัดประตูซะแล้วเข้านอน
ขัด 3 ประโยคนี้ ที่แตกต่างจากพวกคือ ขัดในประโยคสุดท้าย เพราะมีความหมายว่า ติด ขวางไม่ให้หลุด แต่ใน
ประโยค 1 และ 2 หมายถึง ถูให้ผ่องใส

5. "คุณแม่" พูดแค่นี้ตีความหมายได้หลายอย่าง เราต้องดูประโยคประกอบด้วย เพราะพูด "คุณแม่" เฉยๆ
อาจตีความว่า- พูดเตือนให้พี่ๆ น้องๆ รู้ว่าแม่กำ ลังจะเดินมา
- เรียกคุณแม่ของตนเอง
- เป็นคำ ตอบว่า "คุณแม่"ประโยค
ภาษาไทยคำ หลักอยู่หน้า คำ ขยายอยู่หลัง
"เขากินขนมมาก" (มาก ขยาย กิน แต่ไม่จำ เป็นต้องติดกันก็ได้ เพราะมี ขนม เป็นกรรมมาคั่นก่อน)
ภาษาไทยจัดอยู่ในประเภทเรียงคำ แบบ ประธาน กริยา กรรม
การออกเสียงคำ
การออกเสียงคำ ไม่ถูกต้อง อาจเกิดจาก
1. ไม่เอาใจใส่
2. ไม่เห็นความสำ คัญ
3. ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ
การออกเสียงคำ ให้ถูกต้องมีความสำ คัญ คือ
1. การสื่อสารจะประสบความสำ เร็จ
2. คงเอกลักษณ์ของภาษาของชาติ
การออกเสียงที่ต้องพึงระวัง
1. เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
2. การลงเสียงหนักเบา
3. การออกเสียงคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
4. การออกเสียงคำ สมาส
5. การออกเสียงอักษรนำ
เสียงพยัญชนะ : เสียง /ช/ อย่าออกเสียงคล้าย /sh/ ในภาษาอังกฤษซึ่งผิด เสียง /ช/ ต้องเอาลิ้นส่วนปลาย
ยกขึ้นจดเพดานแข็งส่วนหน้า
: เสียง /ซ/ อย่าออกเสียงนี้คล้าย /s/ หรือ /th/ ในภาษาอังกฤษซึ่งผิดเช่นกัน เสียง /ซ/ =
เสียงแทรกผ่านลิ้นส่วนปลายที่ยกไปใกล้ปุ่มเหงือก
: เสียง /ร/ ลิ้นส่วนปลายจะสะบัดอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว บางคนสะบัดปลายลิ้นเร็วๆ
จนกลายเป็นเสียงรัว ซึ่งผิด และต้องระวังอย่าออกเสียงเป็น /ล/ อาจทำ ให้ความหมายของคำ แปรเปลี่ยนได้
: เสียง /ล/ ลิ้นส่วนปลายจะแตะปุ่มเหงือกและกักลมไว้

เสียงควบกลํ้า
ส่วนใหญ่ที่เราไม่ออกเสียงควบกลํ้าเพราะเราไม่ได้เอาใจใส่ ระวังคำ ต่อไปนี้
พลัดพราก
ครอบคลุม
คลุมเครือ
ครุมเครือ
ออกเสียงควบกล้ำอยา่งนี้จึงจะถูก
การออกเสียงสระ : บางคนยึดตามรูปเขียน แท้จริงแล้ว คำ บางคำ ออกเสียงต่างจากรูปได้
กิโล รูป อิ (สั้น) แต่ออกเสียง อี อ่านว่า กีโล
ท่าน รูป อา (ยาว) แต่ออกเสียง สั้น อ่านว่า ทั่น
คำ ว่า นํ้า (-ำ) ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น เช่น นํ้าแข็ง นํ้ามัน นํ้าหอม จะออกเสียงสั้น แต่บางครั้งออกเสียง ยาว ได้ เช่น
จงช่วยกันประหยัดนํ้า
     การลงเสียงหนักเบา
คำ ซ้อนมักลงเสียงหนักทั้ง 2 พยางค์ เช่น เหลวไหล แจกแจง บ้านเรือน คู่คี่
* คำ ทั่วไป 2 พยางค์ ขึ้นไปนั้น พยางค์สุดท้ายลงเสียงหนัก
* ถ้าคำ นั้นมากกว่า 2 พยางค์ พยางค์สุดท้ายลงเสียงหนักเหมือนเดิม ส่วนพยางค์อื่นๆ ด้านหน้าจะลงเสียงหนัก
ที่คำ ครุ (พยางค์ที่มีเสียงสระยาว หรือพยางค์ที่มีตัวสะกด) เช่น
มะละกอ ลงเสียงหนักที่ กอ
สถาบัน ลงเสียงหนักที่ ถา บัน
อสุรกาย ลงเสียงหนักที่ กาย
ปาฐกถา ลงเสียงหนักที่ ปา ถา
แต่ยกเว้น! อคติ พยางค์ที่ 1 ลงเสียงหนัก
คณบดี พยางค์ที่ 2 ลงเสียงหนัก[/center]

_________________

บทบาทความสำคํญของเทคโนโลยีสารสนเทศ



       ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และ     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากบทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์(ต่อ)4


  dia_green_8.gif  DISK  Drive
          ไดรฟ์สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลจากแผ่นดิสก์ ซึ่งไดรฟ์ที่เห็นในรูปเป็นไดรฟ์ขนาด 
3.5 นิ้ว คือใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ ขนาด 3.5 นิ้ว ด้านท้ายของไดรฟ์จะมีคอนเน็คเตอร์ สำหรับต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้าที่ตัวไดรฟ์ และคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพ (สายรับส่งข้อมูล) เข้ากับคอนเน็คเตอร์ FDD Connector บนเมนบอร์ด
 


 
  dia_green_9.gif  สแกนเนอร์  (Scanner)
                         สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัสแท่ง (
Bar Code) แล้ว แปลงเป็นข้อมูล ที่อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้และนำไปประมวลผลได้ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น ประเภทคือ
                         1.แบบแท่นนอน (flatbed scanner)
                         2.แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)
                         3.แบบมือถือ
          1.แบบแท่นนอน (Flatbed scanner)
                  สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพ
จากหนังสือ
ได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก การทำงานของสแกนเนอร์แบบแท่นนอน แสงจากหลอดไฟกระทบกับหน้าหนังสือด้านที่วางแนบแผ่นกระจก โดยบริเวณที่เป็นสี
ขาวจะสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า บริเวณที่มีสีทึบกว่า มอเตอร์ที่ติดอยู่กับหัวสแกนจะค่อย ๆ เลื่อนหัวสแกนเนอร์จากปลาย
ด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่หัวสแกนเนอร์ของสแกนเนอร์ จะมีตัวรับแสงได้ละเอียดถึง 
1/90,000 ต่อตารางนิ้ว ข้อมูลดิจิตอลที่ได้ถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่ซอฟต์แวร์กราฟฟิก หรือซอฟต์แวร์อ่านตัวอักษร (Optical Character Recognition software)สามารถนไปใช้งานได้ แสงสะท้อนจากหน้าหนังสือตกกระทบสู่หมู่กระจกซึ่งจะเรียงตัวทำมุมได้พอเหมาะกับเลนส์ ของสแกน-
เนอร์ได้ตลอดเวลา แสงที่ผ่านเลนส์จะรวมตัวกันทำให้มีความเข้มมากขึ้นจะผ่านตกกระทบลงบนไดโอดรับแสงซึ่ง เรียงตัวกันอยู่ที่หลังของเลนส์ ไดโอดดังกล่าวทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความเข้มของแสงให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้า โดยแสงที่มีความเข้มมาก ก็จะทำให้
สัญญาณ แรงดันไฟฟ้าที่มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย วงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล(
A-D:Analog-to-Digital Converter)แปลงสัญญณอนาลอก ที่ได้จากไดโอด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้แทนจุดที่เป็นสีขาวและดำ มีความละเอียดของข้อมูลสูง สแกนเนอร์แบบสีทำงานคล้าย ๆ กันเพียงจะสแกน ครั้ง แต่ละครั้งจะสแกนเก็บความเข้มของแสง ที่ผ่านตัวกรองแสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน และนำมารวมกันเป็นภาพในขั้นสุดท้าย

         
2 .แบบเลื่อนกระดาษ (sheet-fed scanner)
                            สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้

          
3.แบบมือถือ
                             สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 
หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน