Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

การออเกสียงคำ


การออกเสียงคำ

   ภาษาเขียนของไทยใช้ตัวอักษรแทนเสียง 3 ประเภท คือ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
ทุกภาษาจะต้องมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระ มีบางภาษาเท่านั้น เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน เป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์
พยัญชนะ
   มีรูปพยัญชนะ 44 รูป แบ่งเป็นเสียงได้ 21 เสียง เพราะหลายรูปมีเสียงซํ้ากัน หลายรูปเราไปรับเอามาจากภาษา
บาลี สันสกฤต และอักษรตํ่ามีเสียงเหมือนอักษรสูง
ศ ษ จึงออกเสียงเหมือน ส ของไทยแต่เดิม
ฬ จึงออกเสียงเหมือน ล ของไทยแต่เดิม
ฑ ฒ ธ จึงออกเสียงเหมือน ท ของไทยแต่เดิม
ข้อสังเกตของพยัญชนะไทยอีกประการ คือ รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง
องค์ (ค. ควาย ไม่ออกเสียง เพราะมีทัณฑฆาตกำ กับ)
พรหม (ห. หีบ ไม่ออกเสียง เพราะนำ หน้าตัวสะกดบางคำ )
สามารถ (ร. เรือ ไม่ออกเสียง เพราะนำ หน้าตัวสะกดบางคำ )
พุทธ (ธ. ธง ไม่ออกเสียง เพราะตามหลังตัวสะกดบางคำ )
จริง (ร. เรือ ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรควบไม่แท้)
อยาก (อ. อ่าง ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรนำ )
หมาย (ห. หีบ ไม่ออกเสียง เพราะเป็นอักษรนำ )
      สระเสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง
- สระเดี่ยว 18 เสียง (สั้น 9 ยาว 9)
- สระประสม 3 เสียง (เอีย อัว เอือ)อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ปัจจุบันถือว่าเป็นพยางค์ ไม่ใช่สระเกินแล้ว
ข้อสังเกตการใช้สระในภาษาไทย มีดังต่อไปนี้
** คำ บางคำ รูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่น ญาติ ประวัติ เหตุ ธาตุ แต่การสะกดคำ ต่อไปนี้จะต้องเขียนแบบนี้ สังเกต
อนุญาต พยาธิ จึงจะถูก
     วรรณยุกต์
มี 4 รูป 5 เสียง สามัญไม่มีรูป
     เสียงหนักเสียงเบา
ในภาษาไทยพยางค์ที่มักเน้นเสียงหนักคือ พยางค์สุดท้ายของคำ หรือถ้าเป็นตำ แหน่งพยางค์อื่นๆ ที่ไม่ใช่สุดท้าย
ของคำ ให้ดูว่าเป็นคำ ครุ (สระเสียงยาว หรือมีเสียงตัวสะกด) เราก็จะลงเสียงหนัก เช่น
มานะ ลงเสียงหนักที่ นะ ทองแดง ลงเสียงหนักที่ แดง
ราคา ลงเสียงหนักที่ คา ปัจจุบัน ลงเสียงหนักที่ ปัจ บัน
กิจการ ลงเสียงหนักที่ กิจ การ จริยา ลงเสียงหนักที่ ยา
สมาคม ลงเสียงหนักที่ มา คม ทรัพยากร ลงเสียงหนักที่ ทรัพ ยา กร
ยุทธหัตถี ลงเสียงหนักที่ ยุท หัต ถี
* ในประโยคถ้าเป็นคำ กริยาสำ คัญในประโยคจะต้องลงเสียงหนัก เช่น "เขาไม่บอกคนขับ รถเลย เลยไปเลย" เลยคำ ที่ 2
     ลงเสียงหนัก
* การลงเสียงหนักเบาไม่มีความหมายสำ คัญในระดับคำ แต่เมื่อเข้าประโยคจะมีความหมายมากกว่า ผู้พูดอาจเลือกเน้น
คำ ใดคำ หนึ่ง เพื่อเน้นอารมณ์ ความรู้สึก เช่น
ฉันชอบแดงไม่ชอบก้อย (เน้นว่าชอบแดง)
เก่งจริงนะลูกสาวเธอ (ประชด)
     คำ
คำซ้ำ และคำซ้อน
ลักษณนาม เช่น เล่ม อัน วง
คำบอกทา่ทีของผูพู้ด เชน่ ซิ นะ เถอะ
คำบอกสถานภาพของผูพู้ด ผูฟ้ งั เชน่ คะ ครับ
มีเฉพาะในภาษาไทย
ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนรูปคำ เพื่อบอกเพศชายหญิง พหูพจน์ เอกพจน์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เหมือนภาษา
อังกฤษ แต่เราต้องสังเกตจากบริบท (ถ้อยคำ แวดล้อม คำ ข้างเคียง) เช่น
1. ฉันกินแล้ว 2 ห่อ (แล้ว ทำ ให้เรารู้ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต)
2. เพื่อนเล่นกันเสียงดัง (กัน ทำ ให้เรารู้ว่า เพื่อนหลายคน)
3. พี่เธอคลอดลูกหรือยัง (คลอด ทำ ให้เรารู้ว่า พี่เป็นผู้หญิง)
4. ขัดหม้อให้คุณยายหรือยัง
ขัดรองเท้าให้เกลี้ยงนะ
ขัดประตูซะแล้วเข้านอน
ขัด 3 ประโยคนี้ ที่แตกต่างจากพวกคือ ขัดในประโยคสุดท้าย เพราะมีความหมายว่า ติด ขวางไม่ให้หลุด แต่ใน
ประโยค 1 และ 2 หมายถึง ถูให้ผ่องใส

5. "คุณแม่" พูดแค่นี้ตีความหมายได้หลายอย่าง เราต้องดูประโยคประกอบด้วย เพราะพูด "คุณแม่" เฉยๆ
อาจตีความว่า- พูดเตือนให้พี่ๆ น้องๆ รู้ว่าแม่กำ ลังจะเดินมา
- เรียกคุณแม่ของตนเอง
- เป็นคำ ตอบว่า "คุณแม่"ประโยค
ภาษาไทยคำ หลักอยู่หน้า คำ ขยายอยู่หลัง
"เขากินขนมมาก" (มาก ขยาย กิน แต่ไม่จำ เป็นต้องติดกันก็ได้ เพราะมี ขนม เป็นกรรมมาคั่นก่อน)
ภาษาไทยจัดอยู่ในประเภทเรียงคำ แบบ ประธาน กริยา กรรม
การออกเสียงคำ
การออกเสียงคำ ไม่ถูกต้อง อาจเกิดจาก
1. ไม่เอาใจใส่
2. ไม่เห็นความสำ คัญ
3. ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ
การออกเสียงคำ ให้ถูกต้องมีความสำ คัญ คือ
1. การสื่อสารจะประสบความสำ เร็จ
2. คงเอกลักษณ์ของภาษาของชาติ
การออกเสียงที่ต้องพึงระวัง
1. เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
2. การลงเสียงหนักเบา
3. การออกเสียงคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
4. การออกเสียงคำ สมาส
5. การออกเสียงอักษรนำ
เสียงพยัญชนะ : เสียง /ช/ อย่าออกเสียงคล้าย /sh/ ในภาษาอังกฤษซึ่งผิด เสียง /ช/ ต้องเอาลิ้นส่วนปลาย
ยกขึ้นจดเพดานแข็งส่วนหน้า
: เสียง /ซ/ อย่าออกเสียงนี้คล้าย /s/ หรือ /th/ ในภาษาอังกฤษซึ่งผิดเช่นกัน เสียง /ซ/ =
เสียงแทรกผ่านลิ้นส่วนปลายที่ยกไปใกล้ปุ่มเหงือก
: เสียง /ร/ ลิ้นส่วนปลายจะสะบัดอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว บางคนสะบัดปลายลิ้นเร็วๆ
จนกลายเป็นเสียงรัว ซึ่งผิด และต้องระวังอย่าออกเสียงเป็น /ล/ อาจทำ ให้ความหมายของคำ แปรเปลี่ยนได้
: เสียง /ล/ ลิ้นส่วนปลายจะแตะปุ่มเหงือกและกักลมไว้

เสียงควบกลํ้า
ส่วนใหญ่ที่เราไม่ออกเสียงควบกลํ้าเพราะเราไม่ได้เอาใจใส่ ระวังคำ ต่อไปนี้
พลัดพราก
ครอบคลุม
คลุมเครือ
ครุมเครือ
ออกเสียงควบกล้ำอยา่งนี้จึงจะถูก
การออกเสียงสระ : บางคนยึดตามรูปเขียน แท้จริงแล้ว คำ บางคำ ออกเสียงต่างจากรูปได้
กิโล รูป อิ (สั้น) แต่ออกเสียง อี อ่านว่า กีโล
ท่าน รูป อา (ยาว) แต่ออกเสียง สั้น อ่านว่า ทั่น
คำ ว่า นํ้า (-ำ) ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น เช่น นํ้าแข็ง นํ้ามัน นํ้าหอม จะออกเสียงสั้น แต่บางครั้งออกเสียง ยาว ได้ เช่น
จงช่วยกันประหยัดนํ้า
     การลงเสียงหนักเบา
คำ ซ้อนมักลงเสียงหนักทั้ง 2 พยางค์ เช่น เหลวไหล แจกแจง บ้านเรือน คู่คี่
* คำ ทั่วไป 2 พยางค์ ขึ้นไปนั้น พยางค์สุดท้ายลงเสียงหนัก
* ถ้าคำ นั้นมากกว่า 2 พยางค์ พยางค์สุดท้ายลงเสียงหนักเหมือนเดิม ส่วนพยางค์อื่นๆ ด้านหน้าจะลงเสียงหนัก
ที่คำ ครุ (พยางค์ที่มีเสียงสระยาว หรือพยางค์ที่มีตัวสะกด) เช่น
มะละกอ ลงเสียงหนักที่ กอ
สถาบัน ลงเสียงหนักที่ ถา บัน
อสุรกาย ลงเสียงหนักที่ กาย
ปาฐกถา ลงเสียงหนักที่ ปา ถา
แต่ยกเว้น! อคติ พยางค์ที่ 1 ลงเสียงหนัก
คณบดี พยางค์ที่ 2 ลงเสียงหนัก[/center]

_________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น